Archive | 5:47 pm

เรียนต่อ ป.โท ทางด้าน Master’s Program in Library and Information Science

18 Aug

    ห้องสมุดฯ ขอแนะนำหลักสูตร การศึกษาต่อทางด้านห้องสมุดดิจิทัลและการจัดการสารสนเทศ (Digital Library and Information Services)  (หลักสูตรปริญญาโท) ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยโบโรส (University of Boras) ประเทศสวีเดน และสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย  ประเทศไทย สำหรับผู้ที่สนใจลองศึกษาข้อมูลเพื่อเตรียมความพร้อม ได้เลยน่ะครับ AIT

ชื่อหลักสูตร         
Master’s Program in Library and Information Science  Digital Library and Information Services
หลักสูตรปริญญาโททางด้านห้องสมุดดิจิทัลและการจัดการสารสนเทศ (Digital Library and Information Services) เป็นความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยโบโรส (University of Boras) ประเทศสวีเดน และสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย  ประเทศไทย                                             ดู brochure  คลิ๊กที่ภาพ
วัตถุประสงค์ของหลักสูตร

       เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ ความสามารถ และความเชี่ยวชาญด้านการพัฒนาและการจัดการทรัพยากรสารสนเทศดิจิทัล รวมทั้งการบริการสารสนเทศในห้องสมุด และหน่วยงานด้านวัฒนธรรม หน่วยงานวิจัย องค์กรธุรกิจ และองค์กรสาธารณะอื่นๆ

คุณลักษณะของนักศึกษาก่อนสำเร็จการศึกษา

images11.  มีความรู้ ความเข้าใจงานวิจัยทางด้านบรรณารักษศาสตร์และสารนิเทศศาสตร์สมัยใหม่ ในขอบเขตของห้องสมุดดิจิทัลและการบริการสารสนเทศดิจิทัล และสามารถนำผลการวิจัยที่ได้รับไปประยุกต์ใช้ได้ตรงกับความต้องการของกลุ่มเป้าหมายที่หลากหลาย
2.  มีความสามารถในการประยุกต์ใช้มุมมองและความรู้ด้านทฤษฎีที่ได้ศึกษาในองค์กรหรือหน่วยงานต่างๆ ที่มีความต้องการความเชี่ยวชาญทางด้านห้องสมุดดิจิทัลและการจัดการสารสนเทศ และสามารถประยุกต์ใช้ความรู้ที่ได้ตรงตามความต้องการและปัญหาที่มีความเฉพาะเจาะจงได้
3.  มีความรู้และทักษะในการพัฒนากลยุทธ์ทางด้านการจัดการสารสนเทศดิจิทัลร่วมกับผู้เชี่ยวชาญในสาขาวิชาอื่นๆ และสามารถนำกลยุทธ์เหล่านี้มาประยุกต์ใช้ได้ในสถานการณ์จริง
4.  มีความสามารถในการวางแผนและอบรมความรู้ทางด้านการบริการสารสนเทศดิจิทัลแก่บุคคลทั่วไป

ปริญญาที่ได้รับ

      ปริญญาโททางด้านบรรณารักษศาสตร์และสารนิเทศศาสตร์ มุ่งเน้นทางด้านห้องสมุดดิจิทัลและการจัดการสารสนเทศจากมหาวิทยาลัยโบโรส (University of Boras) ประเทศสวีเดน

รูปแบบการเรียนการสอน

            การเรียนการสอนของหลักสูตรเป็นการเรียนการสอนแบบอิเล็กทรอนิกส์ (E-Learning) ประกอบด้วย วิชาบังคับ โครงงานเชิงปฏิบัติ และวิทยานิพนธ์ ซึ่งดำเนินการสอนผ่านทางการบรรยาย สัมมนา และงานกลุ่ม รวมทั้งแบบฝึกหัดเชิงปฏิบัติ และการฝึกทักษะการนำเสนอผลงานผ่านทางการพูดและการเขียนโดยใช้ภาษาอังกฤษเป็นสื่อกลาง
           นักศึกษาจำเป็นต้องเข้าร่วมการประชุมและสัมมนากับคณาจารย์จากคณะบรรณารักษศาสตร์และสารนิเทศศาสตร์ของมหาวิทยาลัยโบโรส (University of Boras) ประเทศสวีเดน ณ สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (เอไอที) ประเทศไทย เป็นเวลาสองสัปดาห์ต่อหนึ่งภาคเรียน จำนวนทั้งหมด 8 ภาคเรียน

02_on_campus_learning2
โครงสร้างหลักสูตร

            จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตรทั้งหมด 120 หน่วยกิต โดยนักศึกษาจะต้องลงทะเบียนเรียนภาคเรียนละ 15 หน่วยกิต ทั้งหมด 8 ภาคเรียน ประกอบด้วย
             วิชาบังคับ                                       90                     หน่วยกิต
             โครงงานเชิงปฏิบัติ                       7.5                    หน่วยกิต
              วิทยานิพนธ์                                 22.5                  หน่วยกิต

รายวิชา
           – Users and Use of Information Services and Libraries (Advanced evel)
           – Information Retrieval for Digital Libraries (Introduction)
           – Information Retrieval for Digital Libraries (Advanced level)
           – Technology for Digital Libraries (Introduction)
           – Technology for Digital Libraries (Advanced level)
           – Digitization and Digital Preservation (Advanced level)
           – Digital Library Management (Advanced level)
           – Digital Library Research Methods (Advanced level)
           – Project Work Practicum (7.5 credits)
           – Master’s Thesis (22.5 credits)

ระยะเวลา
           การเรียนการสอนของหลักสูตรครอบคลุมระยะเวลา 4 ปี (8 ภาคเรียน) โดยนักศึกษาอาจสำเร็จการศึกษาได้ก่อนระยะเวลา
ที่กำหนดทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความสามารถเฉพาะบุคคล

ค่าใช้จ่าย    
                         ค่าใช้จ่าย                                                             ภาคเรียน (120 หน่วยกิต)  หน่วย : บาท

                        1.ค่าลงทะเบียน 8,000 บาทต่อเทอม                                 64,000
                        2.ค่าหน่วยกิต : 2,500 บาท/หน่วยกิต              300,000
                             รวมทั้งสิ้น                                                                       364,000 บาท

ข้อมูลการสมัคร

          ผู้เข้าศึกษาจำเป็นต้องจบการศึกษาระดับปริญญาตรีในสาขาวิชาบรรณารักษศาสตร์และสารนิเทศศาสตร์หรือสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องจากมหาวิทยาลัยที่ได้รับการยอมรับ และมีผลการทดสอบภาษาอังกฤษจากหน่วยงานที่ได้รับการรับรองในระดับนานาชาติเช่น TOEFL, IELTS หรืออื่นๆ
        ผู้สนใจสามารถดาวน์โหลดเอกสารการสมัครได้จากเว็บไซต์
http://mlis.cs.ait.ac.th/how-to-apply
        โดยสามารถส่งใบสมัครมายังที่อยู่ด้านล่างหรือทางอีเมล mlis@cs.ait.ac.th

How to apply051-Criminology-Graduate-Clas_0
  – 
Applicant’s Responsibilities [pdf]
   – Admission Action Form [pdf]
   – Application for Admission [pdf] 
   – Acknowledgement Card [pdf]
ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
ข้อมูลเกี่ยวกับหลักสูตร      ติดต่อ: Professor Elena Macevičiūtė
                                         อีเมล:
elena.maceviciute@hb.se
ข้อมูลเกี่ยวกับการสมัคร     ติดต่อ: MLIS-DL
 
                                       อีเมล: mlis@cs.ait.ac.th
ผู้สนใจสามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ http://mlis.cs.ait.ac.th

ขอขอบคุณข้อมูลจาก : นิตยสารบรรณารักษ์ ปีที่ ๒ ฉบับที่ ๕ กรกฎาคม ๒๕๕๒

Web 2.0: Building the New Library 2.0

18 Aug

     oat20 เทคโนโลยีในปัจจุบันนี้ก้าวหน้าไปไกลมาก  ปัจจุบันมีเทคโนโลยีใหม่ ๆ มาให้เราเล่นเยอะแยะมากมาย ตั้งแต่ MSN Wiki Blog Spaces Hi5  facebook  ซึ่งที่เราใช้กันอยู่ทุกวันนี้ เราเรียกว่า social networking หรือสังคมเครือข่ายออนไลน์ เทคโนโลยีที่มาแรงอย่างหนึ่งที่พูดกันมากคือ Web 2.0 ซึ่งมีห้องสมุดหลายแห่งนำแนวความคิด web 2.0 หรือ Library 2.0 มาพัฒนา Web site ของห้องสมุดเพื่อให้มีการติดต่อสัมพันธ์กับผู้ใช้บริการมากขึ้น เรามาลองศึกษากันดูว่าจะนำ web 2.0 หรือ Library 2.0 มาพัฒนา Web site ของห้องสมุด กันได้อย่างไร library 2.0 cmu
     
1. สร้างสรรค์แบ่งปันความรู้ด้วย Wiki               
     2. งานเขียนส่วนตัว บันทึกส่วนตัว เว็บไซต์ส่วนตัว ด้วย Blog
     3. บันทึกเว็บไซต์โปรดด้วย Social Bookmarking
     4. อ่านข่าวทุกวันได้ด้วย RSS Reeds, NewsReader
     5. แบ่งปันกันดูภาพด้วย Flickr
     6. แบ่งปันสไลด์ด้วย Slideshare
     7. แบ่งปัน Video ด้วย Youtube
     8. เอกสารสำนักงานออนไลน์ด้วย Google Docs
     9. พัฒนาเว็บไซต์ด้วย Dynamic Content Management System (Joomal, Drupal)
     10. Internet Telephony / VOIP (Skype, MSN, ICQ)

     ข้อมูลจากการบรรยายโดยอาจารย์บุญเลิศ อรุณพิบูลย์ ”  ในประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่อง “Web 2.0 กับงานห้องสมุด”วันที่  3 กรกฎาคม 2552 ณ สำนักหอสมุดมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 

Presentation by อาจารย์บุญเลิศ อรุณพิบูลย์

library 2.0 by University of California, Berkeley library : youtube

                  ถึงแม้ว่าจะมีเทคโนโลยีที่ลำยุค ล้ำสมัย ก้าวหน้าอย่างไรก็ตาม หัวใจหลักของห้องสมุดเราก็ยังอยู่ที่ Content  ซึ่งบรรณารักษ์เป็นผู้มีความรอบรู้ มีการบ้านให้คิดหนักเลยทีเดียวว่าจะทำอย่างไรที่จะดึงเอา Content มาผนวกกับเทคโนโลยีโดยมีผู้ใช้มีส่วนร่วมในการสร้างสรรค์ตรงนี้ได้อย่างงมีประสิทธิภาพ