Archive | 3:05 am

ดร.กฤษณา ไกรสินธุ์ คว้ารางวัลแมกไซไซ

24 Aug

ดร.กฤษณา ‘เภสัชกรยิปซี’ คว้ารางวัลแมกไซไซ สาขาบริการสาธารณะ ประจำปี’52 จากการอุทิศตนผลิตยาราคาถูกช่วยเหลือผู้ติดเอดส์
คณะกรรมการรางวัลแมกไซไซ ประกาศมอบรางวัล ประจำปี 2552 ให้กับชาวเอเชีย 6 คน หนึ่งในหก คือ “เภสัชกรยิปซี” ดร.กฤษณา ไกรสินธุ์ เภสัชกรชาวไทยจากจังหวัดสุราษฎร์ธานี ซึ่งอุทิศตนผลิตยาราคาถูกช่วยเหลือผู้ป่วยติดเชื้อเอชไอวีเอดส์ในไทยและในทวีปแอฟริกา  
552000007319902        สำหรับ ผู้ได้รับการคัดเลือกให้ได้รับรางวัลแมกไซไซในปีนี้ ประกอบด้วยชาวจีน 2 คน อินเดีย ฟิลิปปินส์  พม่า และไทยชาติละ 1 คน
คือ
ชาวพม่าคือ คา ซอว์ วา  นักเคลื่อนไหวด้านสิทธิมนุษยชน ซึ่งในระหว่างที่เป็นนักศึกษา เขาเคยถูกทหารพม่าจับทรมาน แต่ในปัจจุบันเป็นผู้ร่วมก่อตั้งองค์การ EarthRights International ซึ่งรณรงค์ไม่ใช้ความรุนแรงในการแสดงออก แก้ไขปรับปรุงและให้การศึกษาเพื่อป้องกันการละเมิดสิทธิมนุษยชน สิ่งแวดล้อมและประชาธิปไตยในพม่า
ชาวจีน 2 คนที่ได้รับรางวัลนี้ คือ หยู เซียวกัง ในฐานะเป็นผู้รณรงค์ให้ประชาชนตระหนักเกี่ยวกับเขื่อนที่สร้างขึ้นในจีน และได้อุทิศตนเพื่อศึกษาและประเมินผลกระทบทางสังคมที่เกิดจากการก่อสร้างอภิมหาโครงการทุกแห่ง และหม่า จุน อดีตนักหนังสือพิมพ์ ซึ่งเสนอรายงานเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมในจีน โดยเฉพาะการระบุชื่อบริษัทกว่า 10,000 แห่ง ที่ละเมิดมาตรฐานการปล่อยมลพิษสู่สิ่งแวดล้อม
ทีป โจฮี ชาวอินเดีย ได้รับรางวัลจากผลงานอุทิศตนเพื่อการพัฒนาชนบทของอินเดียมานานหลายทศวรรษ อีกทั้งเป็นผู้ก่อตั้งองค์กรที่ไม่หวังผลกำไร ซึ่งได้ระดมและเตรียมนักศึกษาจบจากมหาวิทยาลัยให้เข้าสู่โครงการระดับรากหญ้าในชุมชนที่ยากจนของอินเดีย
อันโตนิโอ โอโปซา จูเนียร์ ทนายความและนักรณรงค์เพื่อสิ่งแวดล้อมชาวฟิลิปปินส์ คว้ารางวัลในฐานะผู้รณรงค์ต่อต้านการทำลายระบบนิเวศวิทยาทางทะเล เขาเป็นผู้อำนวยการลาดตระเวนทางทะเลเพื่อป้องกันเรือที่จะระเบิดปลาโดยผิดกฎหมาย.- สำนักข่าวไทย

       อ้างอิงจาก กรุงเทพธุรกิจออนไลน์

‘เภสัชกรยิปซี ‘ดร.กฤษณา ไกรสินธุ์’ ‘บุคคลแห่งปีเอเชีย’ นักสู้เอดส์

24 Aug

รางวัลแห่งความภูมิใจกว่า 30 ปีแห่งการเรียนรู้ การทำงาน รวมถึงการอุทิศชีวิตให้กับสังคม ทำให้ ดร.กฤษณา ไกรสินธุ์ ได้รับรางวัลมากมาย อาทิ รางวัลนักวิทยาศาสตร์โลก (Global Scientist Award) ประจำปี พ.ศ. 2547 จาก Letten Foundation ประเทศนอร์เวย์, ผู้หญิงคนแรกที่ได้รับปริญญาเอกกิตติมศักดิ์ สาขาวิทยาศาสตร์ จาก Mauny Holly Oke College, USA รวมถึงปริญญากิตติมศักดิ์อีกไม่รู้กี่ใบต่อกี่ใบ

พร้อมทั้งบอกว่า เคยได้รางวัลเป็นเงินเป็นทองเยอะ ๆ แต่ก็เฉย ๆ ก็บริจาคไป และไปที่แอฟริกา หรือไปทำงานที่ไหน ก็จะไปตั้ง มูลนิธิกฤษณา ไกรสินธุ์ แล้วก็เอาเงินจากยอดขายยามาเข้ามูลนิธิฯ เพื่อจะช่วยเด็กกำพร้าที่พ่อแม่ตายเพราะเอดส์ และเด็กก็ติดเอดส์ด้วย ซึ่ง เด็กพวกนี้น่าสงสารมาก. เรื่องราวของ ดร.กฤษณา ได้รับความสนใจจากสื่อต่างประเทศ จนถูกนำไปสร้างเป็นภาพยนตร์สารคดี ความยาว 45 นาที เรื่อง A Right to Live-AIDS medication for Millions (2006) ได้รับรางวัลจากเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติเมืองคานส์ และยังถูกนำไปสร้างเป็นละครบรอดเวย์ ชื่อ Cocktail

แต่เมื่อถ้าถามว่ารางวัลไหน ที่ภูมิใจที่สุด ดร.กฤษณาบอกว่าคือ  รางวัลศิษย์เก่าดีเด่นของโรงเรียนราชินี ซึ่งที่ภูมิใจมาก เพราะโรงเรียนสอนตนเองมาดี สอนให้เข้ากับคนได้ สอนให้มีมนุษยสัมพันธ์กับคน ไม่ได้สอนแต่วิชาความรู้ให้ ซึ่งคนเราต้องมี  หลาย ๆ ด้านประกอบกัน ไม่ใช่ว่าเก่ง…แต่เอาตัวไม่รอด ต้องมีน้ำใจ นี่คือสิ่งที่ภูมิใจที่สุดไม่ว่าใครจะถาม โดยที่รางวัลนี้เป็น เข็มอักษร สผ.ประดับเพชร

 gypsy-1

 “อายุกว่า 50 ปีแล้ว เพิ่งจะมาได้รับ  ดูเหมือนไม่มีอะไร แต่คนเราความภูมิใจต่างกัน เราเหมือนเป็นโมเดล เป็นไอดอลให้เด็ก ๆ  ส่วนตัวมีความภูมิใจในโรงเรียนแห่งนี้เสมอ และความคิดดี ๆ ยังได้รับการปลูกฝังอย่างดีจากคนในครอบครัวด้วย โดยเฉพาะอิทธิพลความคิดจาก คุณ ยายเยื้อน วิชัยดิษฐ์ ซึ่งเป็นแม่ชี ที่สอนให้ทำดีทุกครั้งที่มีโอกาส” ดร.กฤษณากล่าว

อ้างอิงจาก
สุภารัตน์ ยอดศิริวิชัยกุล / วิภาพร เปลี่ยนเจริญ   www.dailynews.co.th